ลักษณะตุ่ม PPE ในผู้ป่วยเอชไอวี

beefhunt หาคู่

ลักษณะตุ่ม PPE ในผู้ป่วยเอชไอวี

โรคตุ่มคันในคนที่เป็นผู้ป่วยติดเชื้อเอชไอวี จะมีอาการแสดงหลายระดับขึ้นอยู่กับระยะติดใหม่ๆ ถ้ามีการดูแลร่างกายดี ภูมิคุ้มกันยังดีอยู่ ก็จะไม่มีอาการอะไรเหมือนคนปกติทั่วไป ถ้าไม่มีการตรวจเลือดก็จะไม่ทราบว่าผู้นั้นมีเชื้อ HIV อยู่ แต่เมื่อเวลาผ่านไป หากไม่กินยาต้านไวรัส หรือปฏิบัติตามคำสั่งแพทย์แนะนำ ภูมิคุ้มกันก็จะลดลง ทำให้มีโอกาสติดเชื้อโรคฉวยโอกาสต่างๆทำให้เจ็บป่วยได้ 

PPE คืออะไร?

PPE ย่อมาจาก Pruritic Papular Eruption in HIV ซึ่ง PPE นั้น มักพบในผู้ป่วยเอชไอวี ที่มีอาการมากแล้ว โดยรอยโรค PPE อาจเป็นตัวสะท้อนบอกสถานะของภูมิคุ้มกันของผู้ป่วยได้ คือการมี PPE อาจหมายถึงภาวะภูมิคุ้มกันของผู้ป่วยต่ำแล้ว

PPE เกิดจากอะไร?

ยังไม่ทราบกลไกการเกิดและสาเหตุ ของการเกิด ตุ่ม PPE อย่างชัดเจน เชื่อว่าเป็นปฏิกิริยาการแพ้ของผิวหนังของผู้ป่วยต่อแมลงกัดต่อยเช่นมด ยุง ดังจะเห็นได้ว่า PPE พบได้มากกว่าที่บริเวณนอกร่มผ้า

PPE ติดต่อมั้ย 

PPE ไม่ใช่โรคติดต่อ แต่ เชื้อเอชไอวี เป็นโรคติดต่อ ควรระวัง โดยการไม่สัมผัสเลือดหนองจากแผล เพราะ เชื้อเอชไอวี สามารถติดต่อทางสารคัดหลั่งต่างๆจากร่างกาย เข้าทางผิวหนังที่มีแผลของเราได้

ลักษณะตุ่ม PPE

  • ลักษณะเป็นตุ่มคัน คล้ายยุงแมลงกัด มีรอยแดงอักเสบ รอยดำหลังการอักเสบ อาจมีหนองจากการติดเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อนที่มาจากการเกา
  • พบได้ทั้งในและนอกร่มผ้า โดยพบที่บริเวณนอกร่มผ้าได้บ่อยกว่า
  • พบในระยะที่ภูมิคุ้มกันต่ำ คือ อาการของโรคเอดส์ เป็นค่อนข้างมากแล้ว
  • มีอาการเรื้อรัง
  • มีอาการคันมากจึงพบมีรอยเกาและมีรอยดำ รอยแผลเป็นหลังเกาอยู่
  • มักเป็นที่แขนขา มากกว่าที่ใบหน้าค่ะ

อาการของการเกิดตุ่ม PPE

หากตุ่มที่เกิดขึ้นนั้น ยุบลงภายใน 5 วัน ก็ไม่น่าใช่ตุ่ม PPE อีกทั้ง หากไม่มีความเสี่ยงต่อการสัมผัสเชื้อก็ไม่น่าจะเป็นผู้ที่ติดเชื้อเอชไอวี เพราะว่าตุ่ม PPE นั้น มักพบในผู้ป่วยที่เป็นติดเชื้อแล้ว และอาจจะมีอาการผิดปกติอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น มีไข้เรื้อรัง น้ำหนักลด เหงื่อออกตอนกลางคืน ท้องเสียเรื้อรัง เป็นต้น 

กินยาแก้แพ้

การรักษาตุ่ม PPE

โดยทั่วไปจะเป็นการรักษาตามอาการ คือ ห้ามเกา ดูแลผิวไม่ให้แห้ง กินยาแก้แพ้แก้คัน ทายาแก้คัน แต่การทายา จริงๆแล้วก็ช่วยให้หายคันชั่วคราว ถ้าจะรักษาให้ตุ่มหายและไม่คัน ควรเพิ่มภูมิคุ้มกันจะเป็นการรักษาที่ต้นเหตุ เพราะตุ่มนี้มาจากเมื่อภูมิคุ้มกันลดลงร่างกายติดเชื้อต่างๆแทรกซ้อนได้ง่าย จึงติดเชื้อแบคทีเรียที่ผิวหนังได้ ทำให้เกิดเป็นตุ่มคัน และอาจมีหนอง

  • ห้ามเกา   เพราะยิ่งเกาจะยิ่งเป็นมากขึ้น และทำให้ติดเชื้อแบคทีเรียซ้ำซ้อนด้วย
  • ดูแลผิวไม่ให้ผิวแห้ง เพื่อลดอาการคัน ทาโลชั่นให้ความชุ่มชื้นกับผิวเป็นประจำ
  • กินยาแก้แพ้ – antihistamine เพื่อลดอาการคัน ถ้าเป็นชนิดง่วงเล็กน้อยเช่น Hydroxyzine ก็จะช่วยลดอาการคันได้ดีขึ้น
  • ทายาสเตียรอยด์ – ที่มีความเข้มข้นสูง เช่น clobetasol  ลดการคันและอักเสบที่ตุ่ม ยาสเตียรอยความเข้มข้นสูงไม่ควรใช้นานเกินสองถึงสามสัปดาห์ เพราะมีผลข้างเคียงทำให้ผิวบาง ช่วงที่ไม่คันมากตุ่มไม่หนาควรใช้ความเข้มข้นปานกลาง TA cream แทน

อ่านบทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

อ้างอิงข้อมูลจากเว็บไซต์ :

  • ตุ่ม PPE คือ? https://apcocapsules.com/เรื่องของตุ่ม-ppe-c20159155092406
  • ตุ่ม PPE คืออะไร http://www.skinanswer.org/โรคผิวหนัง/ตุ่ม-ppe-คืออะไร/

Search