HPV (Human Papilloma Virus) เป็นเชื้อไวรัสชนิดหนึ่ง เป็นสาเหตุสำคัญของการติดเชื้อเนื้อเยื่อบุผิว และก่อที่ก่อโรคบริเวณอวัยวะเพศและทวารหนัก พบได้ทั้งในผู้ชายและผู้หญิง ด้วยการสัมผัสเชื้อโดยตรง หรือการมีเพศสัมพันธ์ นอกจากนี้ ผู้ที่มีเชื้อHPV อยู่ในร่างกาย มักไม่มีอาการแสดงใด ๆ จึงอาจแพร่เชื้อไปยังผู้อื่นโดยไม่รู้ตัว ซึ่งพบเชื้อชนิดนี้มีมากกว่า 100 สายพันธุ์ HPVแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ
- กลุ่มสายพันธุ์ที่มีความเสี่ยงต่ำ (Low risk type) เป็นสายพันธุ์ที่ไม่ทำให้กลายเป็นมะเร็ง
- กลุ่มสายพันธุ์ที่มีความเสี่ยงสูง (High risk type) เป็นสายพันธุ์ที่ทำให้กลายเป็นมะเร็ง
HPVก่อให้เกิดโรคไอะไรบ้าง ?
Table of Contents
- มะเร็งอวัยวะเพศ
- มะเร็งทวารหนัก
- หูดหงอนไก่
- มะเร็งปากมดลูก
- มะเร็งปากช่องคลอด
การวินิจฉัยHPV
หากมีหูดขึ้นตามผิวหนัง และสังเกตเห็นได้ด้วยตาเปล่า แพทย์สามารถวินิจฉัยโดยการตรวจดูลักษณะผิวหนังที่ผิดปกติได้ทันที แต่ในรายที่ไม่มีหูดขึ้นหรือมองไม่เห็นด้วยตาเปล่า แพทย์อาจใช้การวินิจฉัยด้วยวิธีอื่น ๆ ดังนี้
- การตรวจแปปสเมียร์ (Pap Test) แพทย์จะเก็บตัวอย่างเซลล์บริเวณปากมดลูกไปตรวจหาการเปลี่ยนแปลงของเซลล์โดยใช้กล้องจุลทรรศ์
- การตรวจตินเพร็พ ( ThinPrep Pap Test ) วิธีการตรวจไม่ต่างไปจากการตรวจแปปสเมียร์โดย แพทย์จะเก็บเซลล์ บริเวณปากมดลูกด้วยอุปกรณ์เฉพาะ แล้วส่งเข้าห้องปฎิบัติการ
- การตรวจหาดีเอ็นเอของเชื้อเอชพีวี (HPV DNA Test) คือ วิธีการนี้เป็นคือการนำตัวอย่างเซลล์บริเวณอวัยวะเพศไปตรวจหาเชื้อHPVโดยตรง มีความแม่นยำสูง นิยมตรวจเพื่อค้นหาโรคก่อนเข้ารับการฉีดวัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูก
- การตรวจปากมดลูกด้วยคอลโปสโคป (Colposcopy) แพทย์จะสอดกล้องคอลโปสโคปขนาดเล็กที่มีกำลังขยายสูงเข้าไปทางช่องคลอดเพื่อตรวจหาเนื้อเยื่อที่ผิดปกติ
- การทดสอบด้วยกรดอะซิติก ( Acetic Acid Solution Test ) การตรวจวิธีนี้จะเป็นใช้สารละลายกรดอะซิติก เพื่อทำปฏิกิริยากับเซลล์ปากมดลูก ที่มีผิดปกติและเปลี่ยนบริเวณดังกล่าวให้เป็นสีขาว แพทย์จึงสามารถสังเกตเห็นได้ง่าย
ใครบ้างที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อHPV
- ผู้ที่มีคู่นอนหลายคน
- ผู้ที่มีคู่นอนติดเชื้อHPV
- ผู้ที่มีเพศสัมพันธ์ตั้งแต่อายุน้อย
- ผู้ที่มีเพศสัมพันธ์โดยไม่ได้ป้องกัน
- ผู้ที่ที่มีระบบภูมิต้านทานในร่างกายอ่อนแอ
อาการของเชื้อไวรัสHPV
เชื้อไวรัส HPV อาจจะไม่มีอาการที่แสดงให้เห็นได้ชัด ส่วนใหญ่จะพบสิ่งแปลกปลอมบริเวณอวัยวะเพศ และร่างกาย ได้แก่
- มีหูดขึ้น (พบได้บ่อย) มีทั้งลักษณะที่เป็นตุ่มนูน ตุ่มเรียบแบน หรือตุ่มสีชมพู โดยอาจเกิดขึ้นบริเวณช่องคลอด ปากมดลูก อัณฑะ ทวารหนัก ขาหนีบ หรือขาอ่อน
- มีอาการคันหรือแสบร้อนบริเวณที่ติดเชื้อ
- มีเลือดออกขณะมีเพศสัมพันธ์
- มีตกขาวที่มากกว่าปกติ
- มีกลิ่นไม่พึงประสงค์
- ประจำเดือนมาผิดปกติ
- ท่อทางเดินปัสสาวะอุดตัน (พบได้น้อย)
HPVป้องกันได้อย่างไร
- ใส่ถุงยางอนามัยทุกครั้งที่มีเพศสัมพันธ์
- หลีกเลี่ยงการเปลี่ยนคู่นอนบ่อย
- ฉีดวัคซีนป้องกันHPV
- ดูแลสุขภาพให้แข็งแรง
- รับประทานอาหารที่มีประโยชน์
- ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
การรักษาHPV
ในปัจจุบันเชื้อ HPV ไม่มีวิธีรักษาโดยเฉพาะ เนื่องจากระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายจะค่อย ๆ กำจัดเชื้อออกไปเอง ส่วนการรักษาความผิดปกติที่เกิดจากการติดเชื้อ เช่น มะเร็งหรือหูด จะมีวิธีการแตกต่างกันไปตามลักษณะอาการที่พบ ผู้ป่วยที่เป็นมะเร็งอาจต้องเข้ารับการผ่าตัดหรือฉายรังสี ซึ่งการตรวจพบและเข้ารับการรักษาตั้งแต่ในขณะที่มะเร็งยังไม่ลุกลามจะช่วยให้ประสิทธิภาพในการรักษาสูงขึ้น ส่วนผู้ป่วยที่มีหูดขึ้น แพทย์มักแนะนำให้ใช้ยาทา ทั้งนี้ หากการใช้ยาไม่ช่วยให้หูดยุบ แพทย์อาจแนะนำให้รักษาด้วยวิธีอื่น ได้แก่ การผ่าตัดหูด การใช้เลเซอร์ การจี้ด้วยความเย็น การจี้ด้วยไฟฟ้า เป็นต้น อย่างไรก็ตาม การรักษาด้วยการใช้ยาหรือกำจัดหูดด้วยวิธีเหล่านี้ไม่สามารถกำจัดเชื้อไวรัสHPV ให้หมดไป ผู้ป่วยจึงอาจกลับมาเป็นหูดซ้ำได้
ขอบคุณข้อมูล : Pobpad
อ่านบทความอื่นๆ เพิ่มเติม
HPVเป็นไวรัสที่ควรระวังเพราะเป็นสาเหตุของโรคมะเร็งต่างๆ ซึ่งอาจส่งผลร้ายต่อร่างกายของเราได้ ดังนั้นเราควรป้องกันตัวเองอยู่ตลอดเวลา โดยการมีเพศสัมพันธ์อย่างปลอดภัย หมั่นตรวจคัดกรองอย่างสม่ำเสมอ และฉีดวัคซีนป้องกัน เพียงเท่านี้ก็จะทำให้คุณห่างไกลจากHPV