Site icon แผนที่ตรวจเอชไอวี

เริม (Herpes) ไม่อันตราย แต่รักษาไม่หายขาด

เริม (Herpes) เกิดจากการติดเชื้อไวรัสเฮอร์พีส์ ซิมเพล็กซ์ (Herpes Simplex Virus) ซึ่งเป็นโรคติดเชื้อไวรัสชนิดหนึ่งของผิวหนังและเยื่อเมือกต่าง ๆที่พบบ่อยมากบริเวณปาก และอวัยวะเพศแล้ว ทำให้มีลักษณะพุขึ้นเป็นตุ่มใสเล็ก ๆ แล้วแตกเป็นแผล ตกสะเก็ด ซึ่งหายได้เอง แต่มักกำเริบซ้ำและเป็น ๆ หาย ๆ ผู้ป่วยที่มีภูมิคุ้มกันต่ำมักมีอาการกำเริบได้

สาเหตุของ เริม

เชื้อไวรัสเริมแบ่งออกเป็น 2 ชนิด ได้แก่

อาการของ เริม

อาการของการติดเชื้อทั้ง 2 ชนิด จะขึ้นอยู่กับตำแหน่งที่ติดเชื้อ อายุ ภูมิคุ้มกันของผู้ป่วย และชนิดของเชื้อไวรัสเริม จะเริ่มจากพบตุ่มพองใสๆ เล็กๆ ที่บริเวณผิวหนัง จากนั้น ตุ่มใสจะเริ่มพองและปวดแสบปวดร้อน เมื่อผ่านไป 1- 2 วัน ตุ่มใสจะมีน้ำอยู่ข้างในและเริ่มแตกออก หากมีการติดเชื้อก็จะเกิดการอักเสบลุกลามและเกิดแผลขนาดใหญ่รักษาหายยากขึ้น อาการร่วมนอกจากการมีตุ่มใส คือ อาการอ่อนเพลีย ปวดเมื่อยตามร่างกาย เนื่องจากเป็นปฏิกิริยาการก่อโรคที่เกิดจากเชื้อไวรัส อาการจึงคล้ายโรคหวัด แต่ไม่มีอาการคัดจมูกน้ำมูกไหลเหมือนหวัด แต่สำหรับผู้ป่วยที่เป็นครั้งแรกจะรู้สึกอาการรุนแรงและใช้เวลานานกว่าจะหายประมาณ 1-2  สัปดาห์ ส่วนผู้ที่เคยเป็นแล้วกลับมาเป็นใหม่ระยะเวลาการหายจะเร็วขึ้น เนื่องจากมีภูมิคุ้มกันแล้ว

การวินิจฉัย เริม

แพทย์สามารถวินิจฉัยเริมได้จากประวัติอาการ การตรวจร่างกาย และจากลักษณะตุ่มน้ำ แต่ในบางรายซึ่งมีอาการไม่ชัดเจน แพทย์อาจตรวจหาเชื้อด้วยวิธีต่าง ๆ เช่น การขูดแผลนำเนื้อเยื่อไปย้อมสี การตรวจหาสารก่อภูมิต้านทาน (แอนติเจน) หรือดีเอ็นเอของเชื้อเริมจากแผลหรือสิ่งคัดหลั่ง การทดสอบทางน้ำเหลืองเพื่อหาระดับสารภูมิต้านทาน (แอนติบอดี) มักตรวจพบตุ่มน้ำใสขนาด 2-3 มิลลิเมตร หลายตุ่มอยู่กันเป็นกลุ่ม ๆ หรือพบตุ่มตกสะเก็ดหรือแผลเล็ก ๆ คล้ายรอยถลอกในบริเวณผิวหนังส่วนใดส่วนหนึ่ง ริมฝีปาก หรือที่อวัยวะเพศ และอาจตรวจพบต่อมน้ำเหลืองในบริเวณใกล้เคียงโตและเจ็บ ผู้ป่วยบางรายอาจมีไข้ร่วมด้วย อาจตรวจพบแผลขึ้นพร้อมกันหลายแห่งในช่องปาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเด็กเล็กที่เป็นเริมในช่องปาก

เป็นเริมดูแลรักษาตัวเองอย่างไร ?

การรักษา เริม

เริมไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ เแม้ว่าแผลเริมจะหายแล้วแต่เชื้อไวรัสเฮอร์พีส์ ซิมเพล็กซ์ (Herpes Simplex Virus) ก็ยังคงหลบซ่อนอยูบริเวณประสาท และจะแสดงอาการอีกครั้งเมื่อภูมิคุ้มกันต่ำลง จึงทำให้การรักษาเริมโดยส่วนใหญ่เน้นที่การบรรเทาอาการเจ็บปวดจากแผลเริม และการควบคุมความรุนแรงของอาการ ความถี่ของการเกิดอาการ รวมทั้งการป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อไวรัส หากผู้ป่วยมีอาการแสดง แพทย์จะให้การรักษาไปตามอาการ เช่น ให้ยาแก้ปวดลดไข้ ยาบรรเทาอาการคัน ร่วมไปกับการให้ยาต้านไวรัส ซึ่งจะช่วยลดความรุนแรงของโรค

เริม ป้องกันอย่างไร ?

อ่านบทความอื่นๆเพิ่มเติม

Exit mobile version