เอชไอวี (Human Immunodeficiency Virus : HIV) เป็นไวรัสที่ทำลายระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย โดยปกติระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย ประกอบไปด้วยเซลล์เม็ดเลือดขาวหลากหลายชนิด มีกลไกที่ทำหน้าที่ป้องกันและต่อต้านอันตรายจากการติดเชื้อและสิ่งแปลกปลอม เซลล์เม็ดเลือดขาวชนิดหนึ่งที่ชื่อว่า CD4 เป็นเป้าหมายของเชื้อเอชไอวี และเมื่อเซลล์เหล่านี้ถูกทำลายผู้ติดเชื้อจะมีร่างกายที่อ่อนแอลงจนติดเชื้ออื่นๆ ตามมาได้ง่าย
เอดส์ (Acquired Immunodeficiency Syndrome : AIDS) เกิดจากการติดเชื้อไวรัสเอชไอวี เป็นระยะสุดท้ายของผู้ป่วยติดเชื้อเอชไอวี เชื้อไวรัสจะเข้าไปทำลายระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย จนไม่สามารถต่อสู้เชื้อโรค หรือสิ่งแปลกปลอมต่าง ๆ ที่เข้าสู่ร่างกาย ทำให้เสี่ยงต่อการเป็นโรคติดเชื้อฉวยโอกาส ซึ่งทำให้ติดเชื้อได้ง่ายกว่าคนปกติ และอาการอาจจะรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิต
เอชไอวีติดต่อได้ 3 ช่องทาง
Table of Contents
- ติดต่อผ่านการมีเพศสัมพันธ์
- ผ่านทางเลือด
- จากแม่สู่ทารกในครรภ์
เอชไอวีมีทั้งหมด 3 ระยะ
ระยะแรกคือ ระยะที่ติดเชื้อเฉียบพลัน ใช้เวลา 2-4 สัปดาห์ หลังจากได้รับเชื้อ จะมีอาการ มีไข้ ปวดศรีษะ และมีผื่นแดงขึ้นตามผิวหนัง ช่องปาก จมูกและเปลือกตา ไวรัสสามารถแพร่ในร่างกายได้ในระยะนี้อย่างรวดเร็ว และไวรัส เอชไอวี จะทำลายเซลล์ของระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายที่เรียกว่า CD4
ระยะที่สองคือ ระยะสงบทางคลินิก ผู้ที่ติดเชื้ออาจไม่มีอาการของการติดเชื้อเลย โดยระดับเชื้อไวรัสเอชไอวี ในระยะนี้จะมีปริมาณที่ต่ำกว่าระยะแรก ผู้ที่ได้รับเชื้อเอชไอวี สามารถอยู่ในระยะนี้ได้เป็นเวลายาวนานถึง 10 ปี หรือมากกว่านั้นหากมีการรักษาด้วยยาอย่างต่อเนื่อง
ระยะที่สามคือ ระยะสุดท้าย เป็นระยะที่รุนแรงที่สุด เรียกว่าเป็นโรคเอดส์ ระยะนี้เกิดจากการที่เชื้อไวรัส ได้เข้าทำลายระบบภูมิคุ้มกันจนทำให้ร่างกายของผู้ป่วยไม่สามารถป้องกันและต่อสู้การติดเชื้ออื่นๆ ได้ เสี่ยงต่อการเสียชีวิต เนื่องจากอาการแทรกซ้อนอื่น ๆ
ผู้ป่วยเอชไอวีมี CD4 เท่าไหร่ถึงเรียกว่าระดับน่าเป็นห่วง
ผู้ป่วยที่ติดเชื้อเอชไอวี จากการตรวจวัด CD4 จะอยู่ที่ระดับน้อยกว่า 200 ซึ่งมีโอกาสติดเชื้อต่าง ๆ เรียกว่า โรคติดเชื้อฉวยโอกาสเนื่องจากภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง ซึ่งอาจรุนแรงจนถึงขั้นเสียชีวิตได้ ทั้งนี้หากผู้ป่วยที่ติดเชื้อเอชไอวีได้รับยาต้านไวรัส จะทำให้ค่า CD4 เพิ่มขึ้นตามลำดับ และจะเริ่มคงที่อยู่ที่ระดับ 500 – 600 ตามแต่สภาพทางร่างกายของแต่ละคน แต่ถึงอย่างไรแล้ว ไม่ว่าจะเป็นผู้ติดเชื้อเอชไอวี หรือผู้ที่มีร่างกายปกติ การรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ และการพักผ่อนที่เพียงพอก็จะช่วยให้ร่างกายมีภูมิคุ้มกันที่ดีได้
เอชไอวี กับ เอดส์ แตกต่างกันอย่างไร ?
เอชไอวร คือ ไวรัสชนิดหนึ่งที่เป็นสาเหตุทำให้เกิดโรคเอดส์ หมายความว่าเอดส์ เป็นเพียงอาการของผู้ที่ติดเชื้อ เอชไอวี และไม่ได้รับการรักษาเท่านั้น จึงจะมีโอกาสป่วยเป็นโรคเอดส์ได้ในตอนท้าย ไม่ใช่ว่าทุกคนที่ติดเชื้อเอชไอวี จะเป็นโรคเอดส์เสมอไป
สิทธิประโยชน์ผู้ป่วย เอชไอวี กับ เอดส์
- สิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (UCS)
- สิทธิสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการ (OFC)
- สิทธิประกันสังคม (SSS)
เอชไอวี ป้องกันได้อย่างไร ?
- สวมถุงยางอนามัยทุกครั้งที่มีเพศสัมพันธ์
- ไม่เปลี่ยนคู่นอนบ่อย
- ก่อนสมรส หรือมีลูก ควรมีการตรวจเลือด
- ไม่ใช้เข็มฉีดยาร่วมกับผู้อื่น
- ตรวจเอชไอวีเป็นประจำ
การรักษาเอชไอวี
ปัจจุบันยังไม่มีวิธีรักษาเชื้อเอชไอวีให้หายขาด แต่มียาต้านไวรัสเอชไอวี หากผู้ติดเชื้อเอชไอวีกินยาได้เร็ว กินยาอย่างต่อเนื่อง และสม่ำเสมอ สามารถทำให้ผู้ติดเชื้อมีสุขภาพที่แข็งแรงเป็นระยะเวลาที่ยาวนานขึ้น และช่วยลดความเสี่ยงของการแพร่เชื้อเอชไอวีนี้ไปยังผู้อื่นได้ด้วย
อ่านบทความอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
- PrEP เพร็พช่วยป้องกันเอชไอวีได้จริงหรือ?
- “หูดหงอนไก่” โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่น่ากลัวไม่แพ้โรคอื่นๆ
ขอบคุณข้อมูล : lovecarestation, thaihiv365
สรุปคือ ระยะแรก ระยะที่สอง ของการติดเชื้อเอชไอวี ยังไม่ถือเป็นโรคเอดส์ ส่วนระยะที่สาม (ระยะสุดท้าย) ของการติดเชื้อเอชไอวี จะเรียกว่าโรคเอดส์