Site icon แผนที่ตรวจเอชไอวี

ทำความเข้าใจและสังเกตอาการของโรคหนองในเทียม

โรคหนองในเทียม

โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ คือ กลุ่มโรคที่เกิดจากการติดต่อผ่านทางเพศกับคนที่เป็นโรค หรือคนที่ติดเชื้อ ทั้งจากการร่วมเพศทางช่องคลอด ทางปาก หรือทวารหนัก และสามารถติดต่อจากแม่สู่ทารกในครรภ์ ผ่านการถ่ายโอนเลือด หรือการใช้เข็มร่วมกันได้เหมือนกัน   โดยสามารแบ่งประเภทเชื้อที่เป็นต้นเหตุของโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์นั้น ๆ ได้แก่ เชื้อแบคทีเรีย เชื้อไวรัส  เชื้อรา พยาธิ เป็นต้น

โรคหนองในเทียม Non Gonococcal Urethritis (NSU) คืออะไร

โรคหนองในเทียม คือ การอักเสบของท่อปัสสาวะที่เกิดเชื้อโรคที่ไม่ใช่หนองในแท้ (Gonococcal Urethritis) สำหรับเชื้อที่เป็นสาเหตุของโรคหนองในเทียมได้แก่

สำหรับเชื้อที่เป็นสาเหตุของหนองในเทียมที่พบบ่อยที่สุดคือ Chlamydia trachomatis หรือ หนองในเทียม (Chlamydia) เป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์  สามารถเกิดขึ้นได้ทั้งในเพศหญิง และเพศชาย  เป็นโรคที่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียที่ชื่อว่า  คลามัยเดีย ทราโคมาติส (Chlamydia Trachomatis) 

ระยะฟักตัวของโรค

หลังจากได้รับเชื้อมักจะแสดงอาการภายใน 1-2 สัปดาห์ หรือนานกว่านั้น

สาเหตุของหนองในเทียม

เกิดจากเชื้อแบคทีเรียที่ชื่อว่า คลามัยเดีย ทราโคมาติส (Chlamydia Trachomatis) จากการมีเพศสัมพันธ์ที่ไม่ป้องกันกับผู้ที่ติดเชื้อ เชื้อสามารถแพร่ติดต่อได้หลายทาง เช่น ทางอวัยวะเพศ ทางทวารหนัก ทางปาก หรือแม้กระทั่งทางตา หากมีสารคัดหลั่งจากร่างกายของผู้ติดเชื้อกระเด็นใส่ รวมไปถึงการแพร่เชื้อจากแม่สู่ลูกในขณะตั้งครรภ์

อาการของหนองในเทียม

อาการหนองในเทียมในผู้ชายมีอาการอย่างไร?

อาการหนองในในเทียมในผู้หญิงมีอาการอย่างไร?

การรักษาหนองในเทียม

สามารถรักษาได้โดยการรับประทานยาปฏิชีวนะเพื่อช่วยรักษา หรือป้องกันการติดเชื้อและแพร่กระจายของแบคทีเรีย ตัวอย่างกลุ่มยาปฏิชีวนะที่ใช้ในการรักษาหนองในเทียมในประเทศไทย ได้แก่กลุ่มยาเพนิซิลลิน (Penicillins) ได้แก่ อะม็อกซีซิลลิน (Amoxicillin)

ผู้ป่วยจะมีอาการดีขึ้นหลังได้รับการรักษาในระยะเวลาประมาณ 1-2 สัปดาห์ ผู้ป่วยในเพศหญิงอาจมีอาการติดเชื้อหนองในเทียมขั้นรุนแรง แพทย์อาจจ่ายยาด้วยการฉีดเข้าเส้นเลือด 

ในระหว่างนี้ผู้ป่วยควรงดการมีเพศสัมพันธ์ทุกรูปแบบ จนกว่าจะสิ้นสุดการรักษา แม้จะมีการใส่ถุงยางอนามัยป้องกัน และสำหรับผู้ป่วยที่ได้รับยาแบบครั้งเดียว ควรหลีกเลี่ยงการมีเพศสัมพันธ์เป็นเวลา 1 สัปดาห์ และรับประทานยาจนครบตามแพทย์สั่ง ถึงแม้จะรู้สึกว่าอาการดีขึ้นแล้วก็ตาม 

หลังจากนั้น 3 เดือน ควรกลับไปตรวจอีกครั้ง เพื่อลดอัตราเสี่ยงการเกิดซ้ำ ร่วมกับการตรวจคัดกรองหาเชื้อในคู่นอนที่เคยมีเพศสัมพันธ์กันภายใน 6 เดือนที่ผ่านมาด้วย

ผู้ป่วยไม่ควรซื้อยาปฏิชีวนะมากินเอง ควรเป็นการสั่งยาโดยแพทย์ เพื่อป้องกันการใช้ชนิดยาไม่ตรงกับโรคที่เป็นอยู่

การป้องกันหนองในเทียม

อ่านบทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

อ้างอิงข้อมูลจากเว็บไซต์ :

Exit mobile version