การตีตราและรังเกียจผู้ติดเชื้อเอชไอวีในสังคมไทย

สังคมไทยส่วนใหญ่ยังมีการตีตราผู้ติดเชื้อเอชไอวี นำไปสู่ความรังเกียจและการประพฤติปฏิบัติที่เป็นไปในทางที่ไม่ดี คนติดเชื้อเอชไอวีมักจะถูกกล่าวหาว่าเป็นบุคคลที่มีรสนิยมทางเพศที่สำส่อน มีคู่นอนหลายคน…………

การตีตรา คือ การที่สังคมไม่เห็นด้วยกับลักษณะของบุคคลใดบุคคลหนึ่ง หรือความเชื่อของบุคคล หรือกลุ่มคนซึ่งขัดกับวัฒนธรรมหรือแบบแผนที่เป็นที่ยอมรับโดยทั่วไป การตีตราจากสังคมยังนำไปสู่การถูกมองข้ามหรือแบ่งแยก ซึ่งความหมายถึงการที่ลักษณะหรือความเชื่อของบุคคลหรือกลุ่มคนใดทำให้เขาเหล่านั้นถูกแบ่งแยกหรือกีดกันออกไปจากคนกลุ่มใหญ่ในสังคมหรือได้รับโอกาสที่ไม่เท่าเทียมในการได้รับการศึกษา บริการด้านสุขภาพ หรือต้องอาศัยในชุมชนที่ไม่น่าอยู่ ถูกแบ่งแยกหรือกีดกัน มองให้ด้านลบและมีทัศนคติที่แย่ต่อผู้นั้น

สังคมไทยส่วนใหญ่ยังมีการตีตราผู้ติดเชื้อเอชไอวี นำไปสู่ความรังเกียจและการประพฤติปฏิบัติที่เป็นไปในทางที่ไม่ดี คนติดเชื้อเอชไอวีมักจะถูกกล่าวหาว่าเป็นบุคคลที่มีรสนิยมทางเพศที่สำส่อน มีคู่นอนหลายคน เป็นเพศที่สาม เป็นคนขายบริการทางเพศ หรือมีการใช้สารเสพติดที่ผิดกฎหมายเป็นสิ่งที่สังคมไม่ให้การยอมรับ หรือมองว่ามีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม

ก่อนอื่นต้องเข้าใจก่อนว่าคนที่รังเกียจหรือตีตราผู้ติดเชื้อเอชไอวี เขาอาจไม่มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่เพียงพอ ผู้ติดเชื้ออาจจำเป็นต้องทำเป็นไม่ใส่ใจและใช้ชีวิตตามปกติต่อไป การหลีกเลี่ยงบทสนทนาในเรื่องนี้ ลองเปิดเผยกับเพื่อนสนิทหรือคนในครอบครัวที่ไว้ใจได้ ที่คอยให้คำปรึกษาที่สามารถให้กำลังใจเราได้ ผู้ติดเชื้อเอชไอวีควรจัดระเบียบความคิดของตัวเองก่อนที่จะเปลี่ยนแปลงคนอื่น อาจเริ่มด้วยการเขียนบันทึกเกี่ยวกับเรื่องที่เราพบเจอและความรู้สึกที่เรามีต่อสิ่งนั้นๆ เข้าร่วมเป็นสมาชิกกลุ่มที่ให้การสนับสนุน และเริ่มเผชิญหน้าแต่ต้องแน่ใจว่า การเผชิญหน้าจะไม่นำไปสู่อันตราย ในบางรายหากพูดคุยกันได้ก็ควรให้ข้อมูลที่ถูกต้องเกี่ยวกับไวรัสเอชไอวี ที่อีกฝ่ายหนึ่งเข้าใจผิด ขอความเห็นใจและความเข้าใจ พูดคุยหรืออธิบายในสิ่งที่อีกฝ่ายพูดออกมา

เนื่องจากการตีตราส่วนใหญ่มักเกิดจากการที่สังคมโยงเส้นเชื่อมพฤติกรรมที่ไม่ดีเข้ากับ “โรค” ดังนั้นวิธีการที่ดีที่สุดในการต่อสู้กับการตีตราคือการเปิดเผยและเพิ่มความรู้ความเข้าใจให้คนทั่วไปได้เข้าใจว่าเอชไอวีเป็นส่วนหนึ่งของสังคม และไม่ใช่เรื่องไกลตัวที่จำกัดเฉพาะคนพวกนั้น ยูเอ็นเอดส์มีสโลแกนอยู่ว่า “ทำลายความเงียบ” (Break the Silence) ให้สังคมเข้าใจว่า ผู้ติดเชื้อเอชไอวีก็มีตัวตนเหมือนกัน และไม่ได้เป็นคนไม่ดีหรือคนที่มีพฤติกรรมไม่ดี อย่างที่เข้าใจกัน

บางครั้งการตีตราก็เกิดจากความกลัวในสิ่งที่เราไม่เคยรู้จักมาก่อนหรือสิ่งที่อยู่นอกเหนือการควบคุมของเรา ดังนั้น การให้ความรู้เกี่ยวกับการตรวจเอชไอวีและโรคเอดส์ว่าสามารถติดต่อกันได้ทางใดบ้าง และที่สำคัญคือพฤติกรรมใดไม่เสี่ยงต่อการติดต่อ จะสามารถช่วยลดความกลัวลงได้ และเมื่อความกลัวลดลงการตีตราและการรังเกียจผู้ติดเชื้อก็ลดลงไปด้วย

Search