Site icon แผนที่ตรวจเอชไอวี

HPV (เอชพีวี) ป้องกันได้อย่างไร ?

เอชพีวี HPV เป็นเชื้อไวรัสร้ายแรงชนิดหนึ่ง เนื่องจากเป็นสาเหตุหลักของโรคมะเร็งปากมดลูก และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ อีกมากมาย ซึ่งหากผู้ติดเชื้อไวรัสเอชพีวีแล้ว จะสังเกตอาการได้ยาก เพราะผู้ป่วยมักไม่มีอาการแสดงออกของโรค จึงส่งผลให้ผู้ป่วยรู้ตัวอีกทีก็อยู่ในช่วงเวลาที่อันตรายเกินไป และยากต่อการรักษาโรค

เอชพีวี (HPV) คืออะไร ?

เอชพีวี (Human Papilloma virus หรือ HPV) เป็นเชื้อไวรัสที่ก่อให้เกิดโรคร้ายที่มีสาเหตุจากกการติดเชื้อเอชพีวี เนื่องจากเชื้อสามารถแพร่กระจายได้ง่ายผ่านการสัมผัสกับเชื้อโดยตรง หรือการมีเพศสัมพันธ์ ปัจจุบันพบว่ามีเชื้อชนิดนี้มากกว่า 150 สายพันธุ์ย่อย ซึ่งส่วนใหญ่มักทำให้เกิดโรคหูดตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย นอกจากนี้ เชื้อ HPV บางสายพันธุ์อาจเป็นสาเหตุของการเกิดมะเร็งชนิดต่าง ๆ เช่น มะเร็งปากมดลูก มะเร็งช่องคลอด มะเร็งปากช่องคลอด มะเร็งอวัยวะเพศชาย มะเร็งทวารหนัก  มะเร็งช่องปากและลำคอ เป็นต้น

อาการของเอชพีวี

ผู้ติดเชื้อ เอชพีวี ส่วนใหญ่จะไม่แสดงอาการ เนื่องจากระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายสามารถกำจัดเชื้อไวรัสได้ก่อนที่จะเกิดหูดขึ้น อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยที่มีหูดขึ้นอาจมีลักษณะของหูดที่ปรากฏแตกต่างกันตามสายพันธุ์ของไวรัส ดังนี้

การวินิจฉัย เอชพีวี (HPV)

หากมีหูดขึ้นตามผิวหนัง และสังเกตเห็นได้ด้วยตาเปล่า แพทย์สามารถวินิจฉัยโดยการตรวจดูลักษณะผิวหนังที่ผิดปกติได้ทันที แต่ในรายที่ไม่มีหูดขึ้นหรือมองไม่เห็นด้วยตาเปล่า แพทย์อาจใช้การวินิจฉัยด้วยวิธีอื่น ๆ ดังนี้

เอชพีวี พบได้ส่วนไหนของร่างกาย ?

ไวรัสเอชพีวี ที่พบบ่อย คือ การสัมผัสทางผิวหนัง เพราะฉะนั้นการมีเพศสัมพันธ์จึงเป็นสาเหตุสำคัญทำให้ติดเชื้อไวรัสเอชพีวี บริเวณปากมดลูก และอวัยวะเพศส่วนอื่นๆ ร่วมทั้งทวารหนัก 

เอขพีวี ในผู้ชาย

เอขพีวี ในผู้หญิง

การป้องกัน เอชพีวี

การรักษา เอชพีวี (HPV)

ปัจจุบันการติดเชื้อ HPV ไม่มีวิธีรักษาโดยเฉพาะ เนื่องจากระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายจะค่อย ๆ กำจัดเชื้อออกไปเอง ส่วนการรักษาความผิดปกติที่เกิดจากการติดเชื้อ จะมีวิธีการแตกต่างกันไปตามลักษณะอาการที่พบ ซึ่งการตรวจพบและเข้ารับการรักษาตั้งแต่โรคยังไม่ลุกลามจะช่วยให้ประสิทธิภาพในการรักษาสูงขึ้น แพทย์มักแนะนำให้ใช้ยา ดังนี้

ขอบคุณข้อมูล : Pobpad

อ่านบทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

Exit mobile version