Site icon แผนที่ตรวจเอชไอวี

หูดหงอนไก่ อันตรายไหม รักษาอย่างไร ?

หูดหงอนไก่ ไวรัสเอชพีวี มะเร็งปากมดลูก กามโรค หูดอวัยวะเพศ โรคหูด โรคติดต่อทางเพศ เอชไอวี เอดส์ เพศสัมพันธ์

หูดหงอนไก่ ถูกจัดอันดับให้เป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่พบได้บ่อยที่สุด หลายคนคิดว่าโรคนี้ เกิดขึ้นเฉพาะกับผู้หญิงเท่านั้น แต่ผู้ชายก็สามารถเป็นหูดหงอนไก่ได้เช่นกัน เพราะเนื่องด้วยการติดเชื้อมาจากคู่นอนนั่นเอง

หูดหงอนไก่เกิดจากสาเหตุใด ?

หูดหงอนไก่ หรือ Genital Warts มีชื่อเรียกอีกชื่อว่า หูดอวัยวะเพศ หรือหูดกามโรคนั่นเอง ซึ่งจะพบบ่อยบริเวณอวัยวะเพศ เกิดจากการติดเชื้อไวรัส HPV (Human Papilloma Virus) ซึ่งแบ่งออกเป็นหลายสายพันธุ์ เช่น สายพันธ์ุที่ 16, 18, 31, 33 จะเป็นชนิดที่สัมพันธ์กับการเกิดโรคมะเร็งปากมดลูก สายพันธุ์ที่ 6, 11, 42, 43 จะเป็นชนิดที่ไม่สัมพันธ์กับการเกิดโรคมะเร็ง เป็นต้น

หูดหงอนไก่ติดต่อได้ผ่านช่องทางใด

นอกจากนี้ หากมีเพศสัมพันธ์ตั้งแต่อายุยังน้อย หรือผู้ชายที่ยังไม่ได้ขริบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศ ก็จะเพิ่มความเสี่ยงในการเป็นโรคหูดหงอนไก่นี้มากขึ้นด้วยครับ

ระยะฟักตัวของเชื้อหูดหงอนไก่

เมื่อได้รับเชื้อเอชพีวีมาแล้ว ในตอนแรกอาจจะยังไม่มีอาการใด ๆ เลย จนผ่านระยะเวลาประมาณ 1 เดือนขึ้นไป จนถึง 2 ปี ไวรัสจะแบ่งตัวเพิ่มจำนวนมากขึ้นเรื่อย ๆ เกิดเป็นเนื้องอกนูนออกมา มีลักษณะเป็นติ่งเนื้อสีชมพูอ่อนหรือสีเนื้อ ผิวไม่เรียบ ซึ่งตอนแรกจะเริ่มจากรอยเล็ก ๆ แล้วค่อยขยายขนาดลุกลามอย่างรวดเร็ว จนคล้ายหงอนไก่หรือดอกกะหล่ำ บริเวณปากช่องคลอด แคมคลิตอริส ผนังช่องคลอด หรือปากมดลูกในผู้หญิง แต่ผู้ชายจะพบหูดหงอนไก่ บริเวณหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศ ลำองคชาติที่ขริบแล้ว หรือรอบทวารหนัก

อาการของหูดหงอนไก่

โรคหูดหงอนไก่ส่วนใหญ่ไม่มีอาการ ไปจนถึงเริ่มจากรอยโรคเล็กๆ แล้วขยายตัวใหญ่ขึ้น มีอาการคัน ระคายเคือง บริเวณที่เกิดหูดหงอนไก่ขึ้น โดยในผู้ชายอาจทำให้ปัสสาวะขัด ปัสสาวะไม่ออก รู้สึกแสบร้อนบริเวณอวัยวะเพศ ในผู้หญิงอาจทำให้ตกขาวผิดปกติ รู้สึกคัน มีเลือดออกหลังจากมีเพศสัมพันธ์

การรักษาโรคหูดหงอนไก่

หูดหงอนไก่ ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ และยังมีโอกาสที่จะกลับมาเป็นซ้ำได้บ่อยถึงร้อยละ 30-70 หลังจากหยุดการรักษาไปประมาณครึ่งปี เพราะไวรัส HPV ไม่ทำให้เซลล์ตาย เชื้อจะถูกจำกัดอยู่เฉพาะในชั้นเยื่อบุ ไม่เข้าสู่กระแสเลือด ภูมิคุ้มกันของร่างกายจึงไม่ได้ออกมาต่อสู้กับไวรัสเหมือนโรคอื่น ๆ ในทางการแพทย์สามารถรักษาโรคนี้ได้หลายวิธี เช่น การใช้ยารักษา การผ่าตัด การจี้เย็น การจี้ร้อน การทำเลเซอร์ เป็นต้น

การใช้ยารักษาหูดหงอนไก่

ผู้ป่วยควรปรึกษาแพทย์ก่อนทำการรักษา เพื่อที่จะได้ตรวจวินิจฉัยแผลได้อย่างถูกต้อง และไม่ควรหาซื้อยามารักษาเอง เพราะอาจจะทำให้ยิ่งลุกลามหรือเกิดผลข้างเคียงที่รุนแรงกว่าเดิม เมื่อไปพบแพทย์แล้วพบว่าเป็นโรคหูดหงอนไก่จริง ๆ แพทย์จะเริ่มทำการรักษา ด้วยการนัดผู้ป่วยให้มาทายาทุก ๆ 1 สัปดาห์ โดยหลังจากทายาเสร็จแล้ว ไม่ควรให้แผลหูดหงอนไก่โดนน้ำ อย่างน้อย 4-6 ชั่วโมง เพราะฉะนั้น แนะนำว่าให้เข้าห้องน้ำให้เรียบร้อยก่อนการรักษาครับ

ยาที่แพทย์ใช้มีหลายชนิด ได้แก่ โพโดฟีโลทอกซิน ยานี้อาจทำให้ผิวหนังระคายเคือง เป็นแผล และรู้สึกปวด หากเข้าสู่กระแสเลือด อาจทำให้เส้นประสาทอักเสบชาตามตัว เม็ดเลือดขาวต่ำและเกล็ดเลือดต่ำ สารละลายกรดเข้มข้น (80-90% Trichloroacetic acid) ออกฤทธิ์โดยทำให้โปรตีนในเชลล์เสื่อมสภาพเป็นเซลล์ตาย หูดที่มีก้านมักหลุดออกไปภายใน 2-3 วัน ทำให้เกิดผิวหนังระคายเคืองเป็นแผลเลือดออกได้

นอกจากนี้ยังมียาที่แพทย์จะจ่ายให้ผู้ป่วยทาด้วยตัวเอง ได้แก่

ป้องกันหูดหงอนไก่ได้อย่างไร

ถึงแม้ว่า โรคหูดหงอนไก่นี้ จะไม่รุนแรงถึงขั้นต้องล้มหมอนนอนเสื่อ แต่ก็เป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ที่ส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตของคนเรามากพอสมควร ต้องเสียเวลาในการรักษา รวมทั้งยังมีโอกาสกลับมาเป็นซ้ำได้อีกด้วย เพราะฉะนั้น เราควรตระหนักถึงความสำคัญในการป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ด้วยการสวมถุงยางอนามัยทุกครั้ง และฉีดวัคซีนไวรัส HPV ชนิด 4 สายพันธุ์หลักให้อุ่นใจไว้ว่าคุณจะห่างไกลจากโรคนี้ได้ครับ

อ่านบทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

Exit mobile version